ข้อมูลท่องเที่ยว – อินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย:Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: Irian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ (อินโดนีเซีย: Timor)

indonesia


เมืองหลวง
 ได้แก่ จาการ์ตา เมืองสำคัญ ได้แก่ จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง

ที่ตั้ง : อินโดนีเซียมีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 2,027,087 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
– หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
– หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา  ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
– หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
– อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
– อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทร อินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
ภูมิอากาศ : อากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วยชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
จำนวนประชากรในเมืองสำคัญ : จาการ์ตา ประชากรประมาณ 10 ล้านคน สุราบายาประมาณ 2.5 ล้านคน บันดุงประมาณ 2.3 ล้านคน เมดานประมาณ 2.1 ล้านคน เกาะบาหลีประมาณ 3 ล้านคน
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือศาสนาพุทธ
ภาษา : ภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
การศึกษา : ร้อยละ 90 ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้ มีมหาวิทยาลัยของรัฐ 49 แห่ง และของเอกชนกว่า 950 แห่ง
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 9,500 รูเปียห์ (มกราคม 2549)
เขตการปกครอง : อินโดนีเซียแบ่งการปกครองเป็น 30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา นครย็อกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์
ระบบการเมืองการปกครอง  : อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2488 ได้กำหนดให้ใช้หลักปัญจศีล เป็นหลักในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย
1) การนับถือพระเจ้าองค์เดียว
2) การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม
3) ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย
4) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน และ
5) ความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล

บาหลี

เรื่องน่ารู้ก่อนเที่ยวบาหลี
วีซ่า
สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยไม่ต้องขอวีซ่าเพื่อเข้าบาหลี  ใช้เพียงแค่หนังสือเดินทางที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก็สามารถเดินทางได้ทันที

หน่วยเงิน / อัตราแลกเปลี่ยน
หน่วยเงินของบาหลีและอินโดนีเซียเป็นรูเปียห์ (Rupiah) มีมูลค่าประมาณ 1 เหรียญสหรัฐ จะแลกได้ประมาณ 8,700-9,200 รูเปียห์  ธนบัตรมีมูลค่า 100 , 500 , 1,000 , 5,000 , 10,000 , 20,000 , 50,000 และ 100,000 รูเปียห์อย่างไรก็ดีอันตราแลกเปลี่ยนเงินรูเปียห์นั้นผกผันได้อย่างมาก  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในประเทศอินโดนีเซีย  ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีอีกครั้งก่อนเดินทาง  และธนบัตรมูลค่าต่ำ เช่น 10 หรือ 20 เหรียญสหรัฐฯ จะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่าธนบัตร 100 เหรียญสหรัฐฯ
หากเดินทางออกไปตามหมู่บ้าน  ควรแลกเงินรูเปียห์ออกไปให้พอเพียงที่จะใช้และควรเป็นใบย่อยด้วย  อย่างไรก็ดีร้านขายของที่ระลึกใน เขตกูต้า  ซานูร์ และนูซาดูอา  มักยอมรับเงินเหรียญสหรัฐฯ  ด้วยเช่นกัน  ขณะเดียวกันสกุลเงินบาทชองไทยนั้นก็เป็นที่ยอมรับอย่างดีได้ในบาหลีสามารถจะแลกที่ร้านรับแลกเงินใดก็ได้
อนึ่ง ควรแลกเงินเฉพาะกับธนาคารหรือร้านรับแลกเงินที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

บัตรเครดิต
บัตรเครดิตเป็นที่ยอมรับทั่วไปตามร้านค้า โรงแรม และภัตตาคารในย่านแหล่งท่องเที่ยว แต่อย่างไรก็ตามหากเข้าไปดูตามหมู่บ้านก็ควรที่จะต้องมีเงินรูเปียห์ด้วย  บัตรเครดิตที่รับคือ วีซ่า  มาสเตอร์การ์ด  และอเมริกัน  เอ็กซ์เพรส  และมีตู้เอทีเอ็มอยู่ทั่วไปบริเวณกูต้าและซานูร์

การติดต่อสื่อสาร
ไปรษณีย์
ที่ทำการไปรษณีย์เปิดทำการวันจันทร์ เสาร์ โดยวันจันทร์-พฤหัสบดี  เปิดเวลา 08.00-14.00 น. วันศุกร์ 08.00-11.00 น. และวันเสาร์ 08.00-12.30 น.  สามารถหาซื้อแสตมป์ ซองจดหมายกระดาษเขียนจดหมาย  และอุปกรณ์การส่งพัสดุต่างๆ รวมทั้งแสตมป์เพื่อการสะสมได้  ในบางเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยวจะมีไปรษณีย์ของเอกชนเปิดทำการด้วย  ซึ่งสามารถซื้อแสตมป์ส่งจดหมายและพัสดุได้  แต่อาจใช้เวลานานกว่าของทางการเล็กน้อย
หากต้องการส่งโปสการ์ดหรือจดหมายกลับเมืองไทยต้องติดแสตมป์ราคา 4,000 รูเปียห์ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน

โทรศัพท์
โทรศัพท์สาธารณะในบาหลีมีบริการในบริเวณที่เป็นแหล่งความเจริญและแหล่งท่องเที่ยวเช่น กูต้า เดนปาซาร์ และอูบุด ซึ่งจะเป็นของรัฐคือ Kantor Telkom และ  Wartel Telkom  แต่ก็มีที่เป็นของเอกชนซึ่งเป็นร้านให้บริการ(Teleshop) เช่นกัน
โทรศัพท์สาธารณะมีบริการทั้งแบบหยอดเหรียญและแบบใช้บัตรโทรศัพท์  โดยแบบหยอดเหรียญสามารถใช้เหรียญ 50  หรือ 100 รูเปียห์ ส่วนบัตรโทรศัพท์ที่จำหน่ายจะมีหน่วยเป็นยูนิตมีตั้งแต่ 60 , 100 , 140 , 280 , 400 และ 680 ยูนิตสามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานโทรศัพท์ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาท์เตอร์แลกเงินในบางจุด  ค่าโทรศัพท์กลับมาเมืองไทยจะตกอยู่ราวนาทีละ 10,000 รูเปียห์
หากจะโทรกลับประเทศไทย จะต้องหมุน 001+66+ หมายเลขที่ต้องการ เช่น 001+66+2972-4266  และหากต้องการเก็บเงินปลายทางจะต้องผ่านโอเปอเรเตอร์ (Thailand Direct) 8nv 000 966 การโทรไปยังบาหลีต้องกดรหัสประเทศอินโดนีเซียคือ 62  ตามด้วยรหัสเมืองของบาหลีและหมายเลขที่ต้องการ หรือ กด 100 เป็นบริหารผ่านโอเปอเรอเตอร์
รหัสเมืองภายในประเทศบาหลี
กูต้า-เลเกียน-เซมินยัก , เดนปาซาร์ ,นูซาดูอา , ซานูร์ , อูบุด , เกียนย่าร์  361
โลวิน่า ,สิงคราชา , คินตามณี 362
ซานดิดาสา , เตียตาร์กังกา  363
เนการา , เมเดวี , กิลิมานุก 365
บาตู  366
เบดูกัล  368

บริการอินเตอร์เน็ต
ปัจจุบันธุรกิจบริการอินเตอร์เน็ตที่บาหลีขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ทั้งร้านอินเตอร์เน็ตและไซเบอร์คาเฟ่ที่แถบกูต้า  เลเกียน และเซมินยัก , เดนปาซาร์ , อูบุด และซานูร์  อัตราค่าบริการประมาณ 6,000 รูเปียห์ต่อ 15 นาท แต่หากเป็นบริการของทางการที่เดนปาซาร์ อัตราค่าบริการเพียง 5,000 รูเปียห์ต่อ 30 นาทีเท่านั้น และถ้าต้องการพิมพ์เอกสารจะต้องเสียค่าบริการเพิ่มอีกเล็กน้อย (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้กรุณาตรวจสอบก่อนการเดินทาง)

ไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่บาหลีใช้คือ 220-240 โวลต์แต่ยังมีบางครั้งพื้นที่ที่ห่างไกลใช้เพียง 110 โวลต์ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำไปจากประเทศไทยสามารถนำไปใช้ในบางพื้นที่เท่านั้นและปลั๊กไฟเป็นแบบสองตา

น้ำ           น้ำประปาที่บาหลีนั้นยังไม่สะอาดนัก ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำจากก๊อก ให้ดื่มน้ำบรรจุขวดที่ปิดผนึกแน่นหนาจะดีกว่า

เวลา       เวลาของบาหลีอยู่ใน Central Indonesian Time ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล(GMT) 8 ชั่วโมงซึ่งก็เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง

เวลาทำงานและประกิบกิจการ
เวลาเปิดปิดของสถานที่ต่างๆ จะไม่ตรงกันหากเป็นสำนักงานทั่วไป เช่น สายการบินจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. และมีเวลาหยุดพักกลางวันต่างๆ กันไป ธนาคารจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. และ วันเสาร์เปิดตั้งแต่ 08.00-13.00 น.
ร้านค้าทั่วไปเปิดประมาณ 10.00-20.00 น. และอาจเลยไปถึง 22.00 น. แต่หากเป็นร้านค้าพื้นเมืองหรือตามหมู่บ้านจะปิดค่อนข้างเร็ว  และตลาดจะเริ่มขายกันตั้งแต่รุ่งสางจนกระทั่งประมาณ 10.00 น.
ส่วนสถานที่ราชการจะเปิดทำการวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 08.00-15.00 น. วันศุกร์ 08.00-11-30 น. และ วันเสาร์ 08.00-12.00 น.

การรักษาพยาบาล
มีสถานพยาบาลและร้านขายยาอยู่ทั่วไปซึ่งให้การรักษาแบบสากล สามารถพูดภาษาอังกฤษได้  เนื่องจากชาวบาหลีเองมักไม่ค่อยใช้บริการสถานพยาบาลเหล่านี้ และสถานพยาบาลก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม ก่อนเดินทางไปยังบาหลีควรที่จะเตรียมตัวให้พร้อม  เนื่องจากบาหลีอยู่ในเขตมาลาเรียชุกชุม เมื่อถึงบาหลีแล้วก็ควรระวังเรื่องอาหารการกินให้ดี  และสวมรองเท้าเมื่อเดินตามพื้นดิน หรือ แม้แต่ห้องน้ำ

อาหารการกิน
อาหารการกินที่บาหลีถึงแม้จะไม่อุดมสมบูรณ์เท่ากับแหล่งภูมิภาคอื่นๆ ในเชตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็มีอาหารหลากหลายให้เลือกไม่ว่าจะเป็นฟาสต์ฟู้ดง่านๆ เช่น แมคโดนัลด์ , เบอร์เกอร์คิงส์ , เคเอซี , ดังกิ้นโดนัท หรือ อาหารจากรถเข็นและพ่อค้าแม่ค้าเร่  อย่างก๋วยเตี๋ยวไก่น้ำข้น (soto ayam) , ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส(bakso) , หมี่น้ำ (bakmie  kuah) , ผัดหมี่ (mee goreng)  เป็นต้น   นอกจากนี้ก็มีร้านอาหารอยู่ทั่วไปที่ให้บริการแบบสากล  ราคาขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งและคุณภาพของอาหาร  ตั้งแต่ 1-4 เหรียญสหรัฐหรือมากกว่านั้น

อาหารอินโดนีเซีย
อาหารอินโดนีเซียจะมีข้าวและก๋วยเตี๋ยวเป็นหลัก  รสชาติเข้มข้นด้วยเครื่องเทศต่างๆ และซอสพริก(sambal) อาหารที่สามารถหารับประทานได้ง่ายคือ nasi campur เป็นอาหารจานเดียว  มีข้าวขาวกับกับข้าวหลายๆ อย่าง ทั้งผักและเนื้อสัตว์ใส่มารอบจาน nasi goring คือ ข้าวผัด  เคียงมาในจานด้วยผัก ไก่ทอด ปลา ฯลฯ  เสิร์ฟพร้อมข้าวเกรียบกุ้ง  อาหารที่นิยมไม่แพ้กันคือ gadogado  เป็นผักนึ่งพร้อมน้ำจิ้มรสเข้มข้น หรือ จะลองชิมสะเต๊ะในสไตล์ของอินโดนีเซียก็ดูไม่เลว  และถ้าหากอยากกินข้าวกับกับข้าวหลายๆ อย่าง ต้องมองหาร้านที่เขียนว่า Nasi Padang  ซึ่งมีกับข้าวให้เลือกมากมาย เมื่อเลือกแล้วจะเสิร์ฟมาในจานเล็กๆ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแกงกะทิใส่เครื่องเทศรสเผ็ด

อาหารบาหลี
อาหารบาหลีส่วนใหญ่จะเป็นข้าวและกับอาหารที่ขึ้นชื่อคือ babi guling หรือ หมูหันย่างกรอบ และ bebek betutu  หรือ เป็ดรมควันแสนอร่อย

อาหารทะเล
หากมายังดินแดนที่เป็นเกาะแล้วไม่ได้ลิ้มรสอาหารทะเล  ก็คงเหมือนกับมาไม่ถึงบาหลีนั่นเอง บริเวณที่ขายอาหารทะเลที่สดๆ และมีชื่อเสียงของบาหลีก็คือ จิมบารัน(Jimbaran) และ ชานดิดาสา(Candidasa)
นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารจีน อาหารไทย อาหารญี่ปุ่น ตามภัตตาคารและร้านอาหารต่างๆ ให้เลือกได้ตามชอบใจด้วย

ผลไม้
ผลไม้ขึ้นชื่อของบาหลีคือ สลัก (salak) ที่คล้ายกับระกำหรือสละของไทย  แต่เปลือกไม่มีหนานแหลมเท่า และรสชาติหวานหอมกลมกล่อมเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องลิ้มลอง  อีกทั้งไม่วายที่จะต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับฝากคนที่เมืองไทยด้วยเสมอ  ผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่คนบาหลีนิยมรับประทานกันมากที่สุดคือทุเรียน  แต่จะกินกันแบบสุกจนงอมจัดและตกลงจากต้นมาเอง  นอกจากนั้นในตลาดยังมีขนุนและกล้วยชนิดต่างๆ ขายเหมือนกับในบ้านเรา  ส่วนมังคุดจะมีในฤดูมังคุดคือช่วงเดือนฟฤศจิกายนถึงมีนาคม

ขนมหวาน
ที่น่าสนใจคือข้าวเหนียวดำเปียก (bubuh injin) และกล้วยทอด (pisang goreng) นอกจากนั้นก็ยังมีลอดช่อง (cendol) และรวมมิตร (es campur) ซึ่งจะไม่หวานจัดเท่าบ้านเรา และมักใช้ดื่มแก้ร้อน

เครื่องดื่ม
บาหลีสามารถผลิตกาแฟหรือ kopi ได้เองจึงควรต้องลองชิมดู เช่นเดียวกับไวน์บาหลี ที่ผลิตจากไร่องุ่นทางตอนกลางของเกาะ ส่วนเบียร์ที่นิยมดื่มกันคือบินตัง  และก็ยังพวกน้ำผลไม้ปั่นก็เป็นที่นิยมดื่มกัน โดยมีโต๊ะตั้งขายอยู่ริมทางทุกหนแห่ง

การทิป
การทิปไม่จำเป็นสำหรับผู้ที่ให้บริการชาวบาหลี  ยกเว้นเมื่อไหว้วานให้พนักงานบริการในโรงแรมช่วยยกของ หรือ คนขับรถ คนขับแท็กซี่ที่บริการดีจนประทับใจก็อาจจะให้เป็นสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ
อย่างไรก็ดี บางครั้งจะมีผู้ฉวยโอกาสเรียกร้องทิป อย่างเช่นผู้ให้บริการริมชายหาด หรือ แท็กซี่ส่วนบุคคล จึงอาจจะต้องทิปบ้างเพื่อตัดรำคาญ

 

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

แหล่งท่องเที่ยวบาหลี เขตเกียนยาร์ (Gianyar)

Gianyar bali-shopping market

เขตเกียนยาร์ มีเมืองหลวงคือเกียนยาร์ เขตนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรมของบาหลี เป็นเขตที่มีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์และงานศิลปะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีวังโบราณที่ยังคงสภาพดีที่สุด เกียนยาร์เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าที่โรงงานจะมีการสาธิตการทอผ้าให้ได้ชมกันด้วยซึ่งจะมีขายทั้งที่เป็นเสื้อผ้าและของฝาก เช่น กระเป๋าสะพาย กระเป๋าสตางค์

 

• หมู่บ้านสำคัญในเขตนี้ได้แก่
• บาตูบุหลัน (Batubulan) เป็นหมู่บ้านที่ มีชื่อเสียงทางการแกะสลักหิน อาจกล่าวได้ว่างานแกะสลักหินที่พบในบาหลีส่วนมากมาจากหมู่บ้านนี้ทั้งนั้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงการเต้นรำระบำบารองทุกวันและ หมู่บ้านบาตูบุหลันยังเป็นชุมทางรถโดยสารไปยังเมืองต่าง ๆ ทั้งเกาะบาหลีอีกด้วย
• เชลุก (Celuk) เป็นหมู่บ้านแห่งเครื่องทองและเครื่องเงินที่ทำเป็นเครื่องประดับหรือเครื่องใช้ เช่น พาน ขัน ซึ่งมีการออกแบบที่สวยงามและเครื่องประดับของที่นี่นั้นส่งออกไปจำหน่ายยังทั่งโลก
• สุขะวาตี (Sukawati) เป็นตลาดที่ขายงานสินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ มากมายในราคาที่ย่อมเยา และต่อรองได้อย่างสนุกสนาน ตอนกลางคืนก็มีไนท์มาร์เก็ตให้ช้อปปิ้งกันต่อ
• มาส (Mas) หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในเรื่องการแกะสลักไม้ ร้านค้าที่เรียงรายไปตามถนนของหมู่บ้านกว่า 5 กิโลเมตร มีสินค้ามากมายให้เลือกชื้อหา งานแกะสลักที่นี่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปิตมหา มีทั้งชิ้นงานที่แกะขึ้นตามความเชื่อทางศาสนา หน้ากากแบบดั้งเดิม หรือจะเพื่อตกแต่งอาคารบ้านเรือนตามแบบสมัยใหม่
• อูบุด (Ubud) หมู่บ้านที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องเดินทางมาเนื่องจากเป็นศูนย์รวมศิลปะของบาหลี จนมีคำกล่าวขานว่าอูบุดนี่แหละคือบาหลีที่แท้จริง ตลาดที่เมืองอูบุดจะมีสินค้าพื้นเมืองฝีมือดีจำหน่าย ซึ่งอาจหาไม่ได้ในที่อื่น และบริเวณโดยรอบอูบุดก็ยังคงมีนาขั้นบันไดที่สวยงามให้ชมด้วย

• แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอูบุด
Puri Lukisan - Palace of Painting

• ปุริลูกิลาน (Puri Lukisan/Palace of Painting) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในสวนดอกไม้ที่จัดแสดงงานศิลปะการวาดภาพหลากหลายรูปแบบ และงานแกะสลักของบาหลีตั้งแต้สมัยทศวรรษที่ 30 เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00-16.00 น. ค่าเข้าชมคนล่ะ 20,000 รูเปียห์

 

SONY DSC

 

• ปุราสาระวาตี (Pura Sarawati) หรือวัดสาระวาตี วัดซึ่งตั้งอยู่ในสวนน้ำพร้อมกับสระบัวขนาดใหญ่ สองข้างทางของทางเข้าจะเรียงรายไปด้วยดอกบัวจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความงดงามอย่างมากอีกแห่ง

 

Pura Saren Angung - Ubud Palace

• ปุริซาเร็นอากุง (Pura Saren Angung/Ubud Palace) ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นวังที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและงดงาม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมบริเวณรอบ ๆ วังได้ ในตอนกลางคืนที่สนามด้านนอกจะมีการแสดงเต้นระบำต่าง ๆ สลับกันไปในแต่ล่ะคืน

 

Gusti Nyoman Lempad

 

• บ้านเลมปัด บ้านของ I Gusti Nyoman Lempad ศิลปิลชื่อดังของบาหลี ผู้สร้างสวรรค์ผลงานที่มีชื่อเสียงไว้มากมาย ปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปชมผลงานของเขาได้ทุกวัน เวลา 8.00-18.00 น.

Neka Museum

• พิพิธภัณฑ์เนคา (Neka Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์อีกแห่งที่เก็บรวบรวมภาพวาดทั้งแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1982 เป็นของ Wayan Suteje Naka บุตรชายของนักวาดภาพเลื่องชื่อของบาหลี เมื่อสมัยปิตามหา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 9.00-17.00 น.

 

Agung Rai Museum of Art

• พิพิธภัณฑ์ศิลปะอากุงไร (Agung Rai Museum of Art) พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผลงานของศิลปินชาวตะวันตกซึ่งหลงใหลในบาหลี อย่าง วอนเตอร์ สปีส์ ตั้งแสดงร่วมกับผลงานของศิลปินชาวบาหลี บริเวณพิพิธภัณฑ์นั้นตกแต่งสวยงามมาก เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 9.00-18.00 น.
• หากต้องการดูลิงที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติก็ให้แวะไปที่ Monkey Forest แต่ต้องระวังสิ่งของที่ถือไปให้ดี เพราะลิงบาหลีก็ซนไม่ต่างกับลิงเมืองไทยเลย อาจฉกฉวยของใช้ รวมทั้งหมวกและแว่นตา และเครื่องประดับที่แวววาวไปจากตัวคนได้สมอ

 

Pejeng

• เปเจ็ง (Pejeng) หมู่บ้านนี้มีสถานที่สำคัญคือ ปุระเปนาราตันศศิ (Pura Penaratan Sasih) มีกลองสำริดโบราณขนาดใหญ่รียกกันว่า จันทราแห่งเปเจ็ง เป็นหนึ่งในวัดสำคัญในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรบาหลี

 

Pura Tanah Lot

• ปุราทานาห์ลอต (Pura Tanah Lot) หรือวัดทานาห์ลอต เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนชายหาดริมทะเล 1 ใน 5 ของเกาะบาหลี เรียกได้ว่ายื่นลงไปในทะเลเลยทีเดียว สร้างโดยนักบวชฮินดู ชื่อว่า ดัง ฮยัง นิราร์ธา ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 11 เพื่ออุทิศแด่เทพเจ้าและปีศาจแห่งท้องทะเล ลักษณะการสร้างบนโขดหินคล้ายเกาะเล็ก ๆ เวลาน้ำขึ้น จึงดูเหมือนวัดอยุ่กลางทะเล เวลาน้ำลง ผู้คนสามารถเดินข้ามทางเดินไปยังตัววัดได้ เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชาวบาหลีให้ความเคารพบูชาอย่างมาก มีทิวทัศน์และบรรยากาศที่สวยงาม และด้านนอกก็เป็นตลาดขายสินค้าพื้นเมืองราคาถูกที่นักท่องเที่ยวนิยมไปกัน

 

Pura Taman Ayun

• ปุราทามันอายุน (Pura Taman Ayun) หรือวัดทามันอายุน เป็นวัดที่เคยเป็นวังเก่า สร้างตอนศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของกษัตริย์ราชวงศ์เม็งวี กำแพง ประตูวัด ก่อด้วยหินสูง แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง หลังคาปูด้วยหญ้าอลัง สิ่งก่อสร้างด้านใน ตกแต่งลวดลายงดงามตามแบบบาหลี มีสระน้ำล้อมรอบ

 

Yey Panas

• น้ำพุร้อน (Yey Panas) นักท่องเที่ยวที่ชมชอบการแช่ตัวเพื่อผ่อนคลายสามารถเดินทางมาที่น้ำพุร้อนแห่งนี้ มีรีสอร์ทที่สวยงามรายล้อมด้วยธรรมชาติไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน

 

Bali Botanical Gardens

• สวนพฤกษศาสตร์ (Bali Botanical Gardens) มีพันธ์ไม้กว่า 650 สายพันธุ์ ซึ่งมีดอกกล้วยไม้หลากหลายสีสัน หรือจะเป็นเฟิร์นพันธ์แปลกไม่เหมือนที่ใด เป็นแหล่งที่นักดูนกไม่ควรพลาด เนื่องจากมีนกหลายชนิดอาศัยอยู่นอกจากนั้นยังมีบ้านพักแบบบาหลีดั้งดาวให้พักด้วย
• เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 2,500 รูเปียห์ รถยนต์คันละ3,500 รูเปียห์ บริเวณสวนไม่อนุญาตให้รถจักรยานยนต์เข้าไปภายใน

 

Lake Bratan

• ทะเลสาบบราตัน (Lake Bratan) เป็นทะเลสาบที่มีมนต์ขลัง ฉากหลังคือทุ่งข้าวขั้นบันไดที่ค่อย ๆ ลาดต่ำลง อยู่ที่เบดูกัลป์ (Bedugu) เป็นทะเลสาบที่มีชื่อเสียงซึ่งมีรีสอร์ทให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการธรรมชาติแบบทุ่งหญ้า ท้องนา และภูเขาได้เข้าพักด้วย ในตอนเช้าหากปราศจากหมอกจะได้เห็นวิวที่สวยงามของยอดเขาคินตามณี (Kintamani) เมาต์อากุง (Mount Angung) เรื่อยไปจนถึงทางทิศตะวันออกนอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางน้ำสร้างความตื่นเต้น เช่น สกีน้ำ การล่องเรือ และภายเรือในทะเลสาบ

 

Pura Ulun Danu Bratan

• ปุราอูลันดานูบราตัน (Pura Ulun Danu Bratan) หรือวัดอูลันดานู ตั้งอยู่บริเวณกลางน้ำริมทะเลสาบบราตัน มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟสูงทะมึน บางช่วงถูกคั่นด้วยปุยเมฆสีขาว วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 เพื่อใช้ทำพิธีทางศาสนาพุทธและฮินดู รวมทั้งอุทิศแด่เทวี ดานู เทพยแห่งสายน้ำ ไม่สามารถเดินข้ามไปยังวัดได้ มีลักษณะเด่นตรงศาลาซึ่งมีหลังคาทรงสูงที่รียกว่าเมรุ มุงด้วยฟางซ้อนกันถึง 11 ชั้น สวยงามมากมักปรากฏอยู่ในภาพถ่ายโฆษณาการท่องเที่ยวของบาหลีเสมอ ต้องเสียค่าเข้าชมคนละ 3,000รูเปียห์

 

Jatiluwith

• ทุ่งนาขั้นบันไดที่จาตูวีห์ (Jatiluwith) บริเวณหมู่บ้านแถบนี้ยังมีการปลูกข้าวแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้บริเวณนี้มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของสังคมเกษตรกรรมแบบบาหลีได้อย่างดี

 

ที่มา – หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา บาหลี หนังสือในเครือ เที่ยวรอบโลก