ข้อมูลการท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา

2
ข้อมูลทั่วไป: กัมพูชา เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ส่วนทางทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม

การขอวีซ่า: การขอวีซ่าเข้าประเทศกัมพูชา สามารถทำ Visa on arrival หรือการทำวีซ่าที่ด่านได้ สถานที่ทำ Visa on arrival ได้แก่ที่ สนามบินนานาชาติพนมเปญ, สนามบินเสียมเรียบ, ด่านปอยเปต และ เกาะกง  โดยผู้เดินทางต้องเตรียมรูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว 2 ใบ หนังสือเดินทางที่เหลืออายุการใช้งาน 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ เมื่อนับจากวันเดินทาง ค่าธรรมเนียมวีซ่าเข้าประเทศกัมพูชา 20 US$ หรือ หากผู้เดินทางมีความประสงค์จะทำวีซ่าจากทางประเทศไทย ต้องเสียค่าใช้จ่าย 20 US$ หรือราวๆ 1,000 บาท ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมจะเหมือนกันกับแบบแรกโดยใช้เวลา 3 วันทำการ

ภาษาที่ใช้: ภาษาเขมรเป็นทางการของประเทศกัมพูชา และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ในปัจจุบัน มีคนกัมพูชารุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน ได้ โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวของกัมพูชา

สภาพอากาศ: โดยทั่วไปอากาศที่ กัมพูชา จะคล้ายๆ กับสภาพอากาศในเมืองไทยนะ คือเป็นแบบมรสุมเขตร้อน แต่จะค่อนข้างแห้งและร้อนกว่าเรานิดหน่อย อุณหภูมิประมาณ 24-35 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม โดยในเดือนตุลาคม จะมีฝนตกบ่อยที่สุด และช่วงหน้าแล้ง หรือ หน้าหนาว คือประมาณเดือนพฤษจิกายน-เมษายน จะมีอากาศไม่หนาวจัด ทั้งนี้ ท่านควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง


ค่าเงิน และการธนาคาร
: ที่ กัมพูชา นักท่องเที่ยวสามารถใช้เงินได้ 2 สกุล คือ USD กับ Riel โดยสามารถแลกได้ที่ธนาคารหรือตามตลาดใหญ่ๆ แต่ธนาคารจะปิดทำการในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการนะ ธนบัตรกัมพูชามีตั้งแต่ 50 , 100 , 200 , 500 , 1,000 , 2,000 , 5,000 , 10,000 , 50,000 ถึง 100,000 เรียล อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุล Riel (KHR) อยู่ที่ประมาณ 4,000 Riels ต่อ 1 USD

การเดินทาง: การเดินทางมาเที่ยวกัมพูชา นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารเครื่องบินมาได้ สนามบินนานาชาติในประเทศกัมพูชามีอยู่ 2 แห่งด้วยกัน ประกอบด้วย สนามบิน นานาชาติโปเซนตง ณ กรุงพนมเปญ และ สนามบิน นานาชาติ เสียมราฐ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวชาวไทยยังสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่านแดนเข้าไปยัง กัมพูชา ทางจังหวัดสระแก้วก็ได้

แม่น้ำ/ทะเลสาบสำคัญ
1. แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
2. แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
3. แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระมหาราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร
4. ทะเลสาบโตนเลสาบ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตร
ทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับ
บริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น

อาณาเขต แผนที่

3

ทิศเหนือ ติดกับประเทศไทย(จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวงอัตตะปือและจำปาสัก)
ทิศตะวันออก ติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง)
ทิศตะวันตก ติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)
ทิศใต้ ติดอ่าวไทย
เมืองหลวง กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากรเมืองหลวง 1.1 ล้านคน
ภาษา ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีนศาสนาศาสนาประจำชาติ คือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
เวลา เวลาเท่ากับประเทศไทย
กระแสไฟฟ้า/ปลั๊กไฟ ระบบไฟฟ้าคือ 220volt และใช้ปลั๊กไฟสองขาแบบประเทศไทย
การปกครอง ปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
สกุลเงิน กัมพูชาคือ “เรียล” RIEL หรือ CR อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 4,000 Riels = 1 USD /100 เรียล (Riel) = 1 บาท
4
รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
 +855
สภาพภูมิอากาศ มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมี 2 ฤดู
-ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
-ฤดูแล้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เมษายน
ฤดูที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยว สามารถเที่ยวได้ทุกฤดู

ประเพณีพื้นเมือง
 ประเพณีปฏิบัติต่างๆ ชาวกัมพูชาจะสอดคล้องใกล้เคียงกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยผู้สูงอายุจะเข้าวัดฟังธรรม เมื่อมีงานบุญตามประเพณี ประชาชนหนุ่มสาวและเด็กจะร่วมแรงช่วยเหลือจัดการงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ จะมีงานบุญประเพณีที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามจันทรคติเช่นเดียวประเทศไทยเป็นวันหยุดราชการ ได้แก่ วันมาฆบูชา, วันปีใหม่เขมร ( Khmer New Year ) ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์จะหยุดราชการในวันที่ 14 – 16 เมษายนทุกปี, วันวิสาบูชา ,วันสาร์ทเขมร (เรียกว่างานวันปรอจุมเบณ , Pchum Ben day) โดยจะหยุดราชการ 3 และงานวันลอยกระทง ( Water Festival ) เรียกว่างานบุญอมตุก หรืองานแข่งเรือ เพราะจะมีเรือจากจังหวัดต่างๆมาแข่งฝีพายกันหน้าพระบรมมหาราชวัง จะหยุดราชการ 3 วัน

อาหารพื้นเมือง
 อาหารของชาวกัมพูชามีรสชาติและหน้าตาคล้ายคลึงกับอาหารไทย อาหารขึ้นชื่อของที่นี่คืออาหารที่ปรุงจากปลา อาหารพื้นเมือง ที่ขึ้นชื่อของกัมพูชา ได้แก่ ข้าวห่อใบบัว ทานกับ อามก (ห่อหมกขะแมร์) ขนมจีนน้ำยา ซุปชนังเดย (สุกี้) ก๋วยเตี๋ยวเขมร เป็นต้น นอกจากนี้ที่นี่ยังมีขนมปังฝรั่งเศสวางขายอยู่ทั่วไปตามท้องถนน

ข้อควรทราบก่อนเดินทาง
– การยื่นวีซ่าหนังสือเดินทางตัวจริงที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีหน้าว่างอย่างน้อย 3 หน้า รูปถ่ายสี ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ ,สำเนาบัตรประชาชน ,แบบฟอร์มวีซ่ากรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ 2 ชุด
– ควรเตรียมเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพอากาศ, โดยเฉพาะครีมกันแดด และแว่นกันแดด
– ราคาของติดเป็นดอลล่าร์ เพื่อความสะดวกควรแลกเงินดอลล่าร์ใบละ 1,5,10,20 จะดีที่สุด
– สามารถใช้เงินไทยได้ในหลาย ๆ จุด แต่อาจะเสียเปรียบเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องแลกเงินเรียล เพราะร้านค้ามักจะทอนมาให้ และควรใช้ให้หมดหรือแลกเป็นเงินบาทก่อนกลับ
– เนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศกำลังพัฒนา การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดคือการส่ง sms และโทรระหว่างประเทศโดยใช้ซิมการ์ดของแต่ละประเทศเมืองสำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
– พนมเปญ (Phnom Penh) เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมเรียบ) พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิม และแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส และผู้คนเป็นมีอัธยาศัยดี พนมเปญยังเป็นศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา เมืองหลวงของกัมพูชาแห่งนี้อุดมไปด้วยสวนและต้นไม้นานาชนิด นอกเหนือไปจากบ้านเรือนที่หลงเหลือมาจากยุคอาณานิคมที่ดูเหมือนอยู่ท่ามกลางเมืองเก่าของฝรั่งเศส บรรยากาศแสนสบายของเมืองที่ห้อมล้อมไปด้วยสายน้ำ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น“เมืองท่าแห่งสุดท้ายอันยิ่งใหญ”ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมามีโรงแรมเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ร้านอาหารก็ได้รับการพัฒนาขึ้นจนได้มาตรฐานด้วยเช่นกัน กระนั้นร้านอาหารพื้นเมืองราคาประหยัดก็ยังมีให้เลือมากมาย

ข้อมูลท่องเที่ยว กัมพูชา

ปราสาทพะโค (Prasat  Preah ko)

5 6 7 8

ปราสาทพะโค (prasat preah ko) สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15 รัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ปราสาทพระโค สร้างด้วยอิฐทั้ง 6 หลัง แบ่งเป็น 2 แถวแถวละ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และกรอบประตูและกรอบหน้าต่างสร้างด้วยหินทราย ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางของแถวหน้า มีจารึกภาษาขอมโบราณที่กล่าวถึงประวัติการสร้างปราสาทแห่งนี้ และมีบันทึกไว้ ปราสาทองค์กลาง (ด้านหน้า) สร้างถวายแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้เป็นปู่ ปราสาทองค์กลาง(ด้านหลัง) สร้างถวายแด่พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราสาทองค์ซ้าย(ด้านหน้า) สร้างถวายพระราชบิดาของพระองค์คือปิทวีณทรวรมัน ปราสาทองค์ซ้าย(ด้านหลัง) สร้างถวายพระราชมารดา ส่วนปราสาททางขวามืออีก 2 หลังสันนิฐานว่าคงจะสร้างให้ญาติ และมีการบันทึกไว้อีกว่าสร้างอุทิศถวายแด่พระปรเมธวระ หรือพระเจ้าสูงสุดอีกพระนามของพระศิวะ นั้นเอง

นครวัด (angkor wat)
9 10 11 12

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นครวัด (angkor wat) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมาปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก

นครธม (Angkor Thom) 
13 14

 

 

 

 

 

 

นครธม (Angkor Thom) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือประตูทางเข้านครธมด้านใต้จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน

เขาพนมบาเค็ง (phnom bakheng)
15 16

 

 

 

 

 

 

เขาพนมบาเค็ง (phnom bakheng) เป็นเทวสถานที่สร้างตามลัทธิไศวนิกาย เมื่อราว พ.ศ. 1450 ตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กที่มีความสูงประมาณ 70 เมตร มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า ปราสาทยโศธระปุระคือใช้ชื่อของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ต่อมาเรียกว่า พนมบาเค็งตามลักษณะของต้นบาเค็งที่มีอยู่มากในบริเวณภูเขานี้ เขาพนมบาเค็งหรือวนัมกันตาล เป็นภูเขาใจกลางเมืองยโสธรปุระซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตัวปราสาทพนมบาเค็งจำลองลักษณะมาจากปราสาทบากอง มีสถาปัตยกรรมคล้ายกัน รูปทรงแบบปิรามิด ที่ตัวระเบียงแต่ละชั้นมีปราสาทเล็กๆ 4 มุม ภายในปรางค์ประธานมีศิวลึงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.1450 ในปีที่เริ่มสร้างปราสาท ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปจาก พ.ศ. 1450-1471 นานถึง 21 ปี หลังจากนั้นอีก 40 ปีในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมปราสาทนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่เห็นในปรางค์ประธานนั้น มีการอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นไปประดิษฐานบนแท่นหินทรายแทนศิวลึงค์เมื่อ พ.ศ. 2059 และจุดเด่นจุดหนึ่งที่น่าสนใจของเขาพนมบาเค็งนี้คือ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามซึ่งสามารถเห็นปราสาทนครวัด และบรรยากาศยามเย็นที่มีพระอาทิตย์ตกเป็นภาพที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมกันเป็นอย่างมาก

ปราสาทบันทายศรี (Banteay Srei)
17 18 19 20

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปราสาทบันทายศรี (Banteay Srei) เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่ ๆ ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า บันเตียไสร หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมเรียบในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร

เสียมราฐ (Siem Reap)
21 22

 

 

 

 

 

 

เสียมราฐ (Siem Reap) หรือชื่อท้องถิ่นว่าเสียมเรียบเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ริมฝั่งทะเลสาบเขมร ห่างจากกรุงพนมเปญ 314 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมงคำว่า “เสียมเรียบ” ในภาษาเขมรนั้น หมายความว่า “สยามราบ” คือ สยามแพ้ ส่วน “เสียมราฐ” ในภาษาไทยนั้น หมายถึง “ดินแดนของสยาม” เป็นที่เข้าใจว่า ชื่อ “เสียมเรียบ” ตั้งขึ้นใหม่แทน “เสียมราฐ” หลังจากที่ใน กรณีพิพาทอินโดจีน พันตรีแปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการกองทัพอีสานและบูรพาในขณะนั้น ได้เคยบุกข้ามชายเดนขับไล่ฝรั่งเศสออกจากดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง พระตะบอง และเสียมราฐ แต่แพ้ปัจจุบันนี้ จังหวัดเสียมราฐเป็นที่รู้จักดีในฐานะเป็นที่ตั้งของนครวัด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวโดดเด่นอีก อาทิ หมู่ปราสาทหินจากอาณาจักรขอม ได้แก่ ปราสาทนครวัด, กลุ่มปราสาทนครธม, (ตาพรหม และบายน, บันทายศรี, บากอง, โลเลย, พนมบาเค็ง, พนมกุเลน และ บารายตะวันตก

ปราสาทโลเลย (lolei)

23 24 25 26

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปราสาทโลเลย (lolei) สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15 (พ.ศ. 1436) รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 เป็นศิลปะแบบพระโคและบาแค็ง ปราสาทโลเลย เป็นปราสาทที่อยู่ในกลุ่มเทวสถานเมืองหริหราลัย ซึ่งพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นบริเวณกลางสระอินทรตฎากะ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระราชบิดา ลักษณะสถาปัตยกรรมของปราสาทโลเลย เป็นหอ 4 หอ ที่ไม่สมมาตร คือจะให้สำคัญหอ 2 หอด้านตะวันออกกว่า หอด้านตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างทรุดโทรม ในขณะที่หอด้านตะวันออกเฉียงใต้ได้พังลงเมื่อปี พ.ศ. 2511 โครงสร้างหลักเป็นหินทราย ตกแต่งด้วยอิฐที่ยาด้วยปูน ซึ่งภายหลังแม้จะหลุดล่อนไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้าง ส่วนทับหลังแกะสลักหินทรายนั้นยังมีหลายชิ้นที่คงสภาพดีจนถึงทุกวันนี้